วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

บททที่ 6


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

 1. แหล่งสารสนเทศมีความสําคัญ 
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/m.jpg

                    ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิด จินตนาการที่ได้มีการบันทึกไว้ในรุปแบบต่างๆ สารสนเทสมีความสำคัญและจำเป็นในยุคสังคมสารสนเทศ มีหลักเผยแพร่ออกมามากมาย ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีการคัดเลือก ประเมินและสังเคราะห์สารสนเทศก่อนนำไปใช้ และผู้ใช้สามารถเลือกใช้จากแหล่งสารสนเทศเหล่านี้ได้มีการจำแนกไว้เป็น 4 ประเภท คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล และแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ 

2.      2. เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที
· ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด


                 ·  ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ       
                  กันอย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น                   
                  ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี 
                  และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
                 .  อนุสาวรีย์ โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์
                 
ชัยสมรภูมิ ปราสาท  หินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์
                 
ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ข้อด้อยของแหล่ง
                 
สารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้อง
                 
ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
       3.แหล่งสืบค้นข้อมูล(search engine)

                   การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการ
                ค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการ                       
                ค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่  รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็น
                หมวดหมู่
         การค้นหาโดยใช้  Search Engine  แบ่งเป็น 2 วิธี
                 1.  การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา  หรือเรียกว่า "คีย์เวิร์ด (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ  ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล
                จะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป  แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ
                ระบบ   เว็บไซต์ที่ให้บริการ  เช่น  www.google.co.th  การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูลต้องพยายามระบุคำให้ 
                ชัดเจน
                 2.  การค้นหาจากหมวดหมู่  หรือไดเรกทอรี่ (Directories)  การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิด
                เข้าไปในห้องสมุด  ที่จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว  ภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ ประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้
                ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน  จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้แล้วก็อ่าน
                เนื้อหา  มีเว็บมากมายที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้  เช่น  www.siamguru.com  www.sanook.com   
               
        4.ลักษณะของการบริการต่างๆ 

                    4.1  FTP    การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือ
               
ข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอน
               
ย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่อง
               
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด <!--pagebreak-->
                 4.2(Web board) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและ
               
สารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไป
               
ยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอ
               
นท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย
               
อาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งใน
               
ปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง
               
ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว
               
โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

               4.3 (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
               
สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับ
               
จดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมาย
               
อิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
                4.4 ICQ  (I SEEK YOU) คือชื่อของโปรแกรมสื่อสารตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมไป ทั่วโลก ทำงานแบบ Instant
                Message
มีลูกเล่นในการใช้งานมากมาย ให้ความ เพลิดเพลิน อย่างมากเพราะ ในขณะที่เราเชื่อมต่อกับ
                INTERNET
โปรแกรม ICQ จะบอกเราว่า มีใครออนไลน์ พร้อมๆเราบ้าง ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว
               
ใน CYBER SPACE ซึ่งจะ แตกต่างกันโปรแกรมสื่อสารแบบอื่นๆ ที่เราต้องเข้าไปดู ว่ามีใครมาเล่นใน ตอนนี้บ้างมี
               
หลักการใน การเล่น ที่แตกต่างจากการ Chat แบบอื่นๆสามารถเล่นได้ แม้ในขณะที่เรา ต้อง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
               
ในการ ทำงาน อย่างอื่นอยู่ เนื่องจาก โปรแกรมนี้ มีการทำงานอย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Browser ในการใช้งาน
               
และ ให้ความรู้สึกที่เป็นส่วนตัว ในการเล่นและมีความรู้สึกที่ ผูกพันกับ User คนอื่นๆ เพราะว่าเราสามารถสร้าง สมุด
               
ติดต่อ (Contact list) ซึ่งจะทําหน้าที่ เก็บรายชื่อเพื่อนๆ ได้อย่างอิสระ (ไม่ชอบใคร ก็ไม่ต้องนํามาใส่ใน Contact
                list
ของเรา) และเมื่อผู้ใช้คนไหน ออน ไลน ์เราก็จะรู้ได้ทันที และเราสามารถส่งข้อความ Chat หรือส่งURLกับ
                เพื่อนๆ ใน Contact list ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จนมีคํากล่าวว่า "ICQ ทําให้เรารู้สึกใกล้ชิดกันได้ แม้ว่าจริงๆเรา จะ
               
อยู่ ห่างกันเป็นหมื่นๆไมล์" รับรองได้ว่าถ้าคุณได้ลองเล่น ICQ แล้ว จะต้องติดใจ และทึ่งในความสามารถ ของ
               
โปรแกรม เล็กๆตัวนี้ 



บทที่ 7


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
  1 ผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ
  1.1 ด้านเศรษฐกิจ
           - มนุษย์สามารถจับจ่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไร   
        ที่ไม่ได้เตรียมการไว้ร่วงหน้า ก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็น
        นี้สูงขึ้น
           - การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิด ผลดีคืออัตราการขยาย
        ตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่ ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษย์
 
        ธรรมหรือความมีน้ำใจไป
1.2 ด้านการศึกษา
                จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่าCAIนั้นทำให้เกิด 
        ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น 
           - ครูกับนักเรียนจะคาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกั เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จาก
        โปรแกรมสำเร็จรูปทำความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง
           - นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบ
        กันระหว่างนักเรียน ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมี
        โอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
1.3 ด้านกฏหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
                ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อชีวิตมีความเร่งรีบ มีการแข่งขันที่สูงทำให้คนในสังคมเกิดการ
            เห็นแก่ตัวไม่สนใจคนรอบข้างคิดหา แต่หนทางที่จะเอาเปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ต่อตนเองโดยไม่คิดว่า
            คน อื่นจะเดือดร้อนเพียงใด
2. จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามาก                                                                            ที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป
              ด้าน เศรษฐกิจ เพราะ เป็นปัจจัยหรือปัญหาหลักของทุกปัญหา เช่น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการผลิตสินค้า
          ที่ออกมาใหม่อยู่ตลอด เกิดการแข่งขันที่สูง สิ่งแวดล้อมรอบตัวถูกทำลายส่งผลไปถึงเรื่องของสุขภาพที่จะเกิดขึ้น
 
          ตามมา

3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
             ทำ ให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีเนื้อหาที่หลากหลาย การสืบค้นข้อมูลต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว 
          ทำให้ได้รับข่าวสารใหม่ๆอยู่ตลอดทำให้สามารถปรับตัวหรือการใช้ชีวิตได้ทัน เหตุการณ์

4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
  ของนักศึกษา
               ทำ ให้เกิดช่องว่างทางการศึกษา เช่น ระหว่างเด็กที่อยู่ในเมืองกับเด็กที่อยู่ตามชนบท และการเรียนรู้อาจมีความ
         เบื่อหน่ายเพราะเด็กต้องเรียนเรื่องเดิมๆอยู่ตลอด เด็กจึงไม่ใส่ใจจึงทำให้การเรียนไม่เกิดความรู้ และทำให้การใช้
         ชีวิตเป็นไปอย่างไม่มีความสุขเพราะ การมีชีวิตที่เร่งรีบ บวกกับการมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 4

การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้
    1.ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม
    2.ผู้ส่ง (sender) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดิทัศน์ เป็นต้น
    
3.ผู้รับ (receiver) คือ คนหรืออุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
    
4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม
    
5.โพรโทคอล (protocol) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นฯข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

2.ความแตกต่างของสัญญาณแอนะล็อก กับสัญญาณดิจิตอล
    สัญญาณแอนะล็อก (analog signal)  เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave)โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ 
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ        
      ส่วนสัญญาณดิจิทัล (digital signal) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา วินาที

3.ทิศทางของการสื่อสารข้อมูลแบ่งได้ แบบ ดังนี้
    1) การสื่อสารแบบทิศทางเดียว ( simplex transmission ) ข้อมูลสามารถส่งได้ทางเดียวโดยแต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นผู้รับหรือผู้ส่ง บางครั้งเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าการส่งทิศทางเดียว (unidirectional transmission ) เช่น การกระจายเสียงของสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ 
2) การสื่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง( half duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับจะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสาร
( walkie-talkie radio ) 
3) การสื่อสารแบบสองทิศทาง ( full duplex transmission )  สามารถส่งข้อมูลได้สองทางโดยที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์คู่สนทนาคุยโต้ตอบได้ในเวลาเดียวกัน

4.คุณสมบัติของสายสัญญาณมี ชนิด ดังนี้
    สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) 
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
     - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) 
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHzสายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
      - สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) 
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 

5.หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย
    5.1 รีพีตเตอร์ (Repeater)  รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
    5.2 บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย 
     5.3 สวิตซ์Switch  คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ Switch บางทีก็เรียกว่า SwitchingHub (สวิตชิ่งฮับซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
     5.4 เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือน

6.ข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบวงแหวน ( Ring)
    ข้อดีโทโพโลยีแบบบัส ( Bus )
          1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
          2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
    ข้อดีโทโพโลยีแบบวงแหวน ( Ring)

          1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
          2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

7. ความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก (Logical level )

    ระดับกายภาพ  Physical Layer ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (Transmission) ทำหน้าที่ จัดการเชื่อมต่อ และ การส่งสัญญาณทางไฟฟ้า จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ  โดยผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองแดง คลื่นวิทยุ สายคู่ตีเกลียว และใยแก้วนำแสงเป็นต้น
     ระดับตรรก (Logical level ) เป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี

8.ความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และแบบ  Client-Server
    เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่เครื่องพีซีทุกเครื่องต่อเชื่อมกัน โดยทุกเครือข่ายต่างก็มีระบบและทรัพยากรต่างๆเป็นของตนเอง สามารถที่จะปันทรัพยากรนั้นให้กับผู้อื่นได้รวมใช้ 
    เครือข่ายแบบ Client Server เป็นเครือข่ายที่เหมาะสำหรับการเชื่อมโยงเครือข่ายขนาดใหญ่ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมโยงกันมากตั้งแต่ 20-200 เครื่อง